เมนู

ภิกขุนิกขันธก วรรณนา


[ว่าด้วยครุธรรม 8]


วินิจฉัยในภิกขุนิกขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงห้ามว่า อย่าเลย
โคตมี (บรรพชาของมาตุคาม) อย่าได้ชอบใจแก่ท่านเลย, บริษัทของ
พระพุทธเจ้าแม้ทั้งปวง ย่อมมี 4 มิใช่หรือ
ตอบว่า บริษัทของพระพุทธเจ้าแม้ทั้งปวงมี 4 ก็จริง ถึงกระนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระประสงค์จะยังพระนางมหาปชาบดีโคตมีให้ลำบาก
แล้ว จึงทรงอนุญาตทำให้เป็นของสำคัญ (อย่างนี้) ว่า สตรีทั้งหลายจักคิดว่า
บรรพชานี้ เราได้ยาก ดังนี้ แล้วจักบริบาลไว้โดยชอบ ซึ่งบรรพชา อันเรา
ถูกวิงวอนแล้วมากครั้งจึงอนุญาต ดังนี้ จึงทรงห้ามเสีย.
กถาว่าด้วยครุธรรม 8 ได้กล่าวไว้แล้ว ในมหาวิภังค์*แล.
บทว่า กุมฺภเถนเกหิ ได้แก่ โจรผู้ตามประทีปในหม้อแล้ว ค้น
สิ่งของในเรือนของชนอื่น ด้วยแสงนั้น ลักเอาไป.
ข้อว่า เสตฏฺฐิกา นาม โรคชาติ นั้น ได้แก่ ชื่อสัตว์มีชีวิต
ชนิดหนึ่ง. รวงข้าวสาลีแม้พลุ่งแล้ว ไม่อาจเลี้ยงน้ำนมไว้ได้ เพราะถูกสัตว์ใด
เจาะแล้ว สัตว์นั้น ย่อมเจาะไส้ซึ่งยังอยู่ในปล้อง.
ข้อว่า มญฺเชฏฺฐิกา นาม โรคชาติ นั้น ได้แก่ การที่อ้อยเป็น
โรคไส้แดง.
* มหาวิภงฺค. ทุติย. 270. 2. องฺกุร.